วันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2564
เวลา 06:00 น.ตื่นเช้าชมวิวจากระเบียงห้องพัก พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นค่ะ
ลงไปเดินเล่นริมทะเลกัน
ตอนเช้าน้ำทะเลขึ้นจนเกือบถึงที่กั้นเลย
อากาศเช้านี้ค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20 องศา
ภูเขาล้อมหมวก สัญลักษณ์ของกองบิน
ท้องฟ้าสีสวย เริ่มมีแสงอาทิตย์ที่ขอบฟ้า
นั่งเล่นรอชมพระอาทิตย์แรกของปี
อาคารฟ้าชมคลื่น 2 ที่พักของพวกเราเมื่อคืนนี้
นั่งรอพระอาทิตย์จนมะปรางบ่นหนาวแล้วค่ะ เพราะลมแรงอากาศเย็น
เดินกลับไปที่ห้องพักกันค่ะ
เวลา 06:40 น.พระอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าแล้วค่ะ
ชมวิวจากระเบียงห้องพัก
พระอาทิตย์แรกของปี พ.ศ.2564
เวลา 8:30 น. ทานอาหารเช้าเสร็จก็ออกไปไหว้พระที่วัดประจำจังหวัดค่ะ
วัดเกาะหลัก พระอารามหลวง อยู่ใกล้ๆทางเข้ากองบิน 5
หลวงพ่อเปี่ยม จันทโชโต
ไหว้พระและทำบุญวันปีใหม่
นัดเจอคุณตาของมะปรางและออกเดินทางไปเที่ยวกันค่ะ
เวลา 9:00 น.เดินทางมาถึงอำเภอกุยบุรี (บ้านบน)
เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข 1002 จุดหมายคืออ่างเก็บน้ำยางชุม ระยะทางประมาณ 15 กม.
นาข้าวสีเหลือง
เส้นทางสองเลนไม่มีรถพลุกพล่านเลยค่ะ
อุโมงค์ต้นไม้ร่มรื่น
มาถึงจุดหมายแล้วค่ะ
โครงการอ่างเก็บน้ำยางชุม
ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านยางชุมเหนือ ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
รูปหมู่ครอบครัว
มะปรางกับคุณตา
เป็นเขื่อนดินปิดกั้นแม่น้ำกุยบุรีบริเวณซอกเขาหาดเขือ
เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2516 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2523
ระบบคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาและฝั่งซ้ายยาวรวมประมาณ 24.00 กิโลเมตร
เขื่อนดินขนาดสูง 23.00 เมตร ยาว 1,500 เมตร สันเขื่อนกว้าง 8.00 เมตร
ความจุ 32.00 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ 369.50 ตารางกิโลเมตร
ปริมาณน้ำท่าไหลลงอ่างฯ เฉลี่ย 51.00 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี พื้นที่ชลประทาน 15,300 ไร่
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2546 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี
เริ่มก่อสร้าง 1 ธันวาคม 2546 แล้วเสร็จ 30 กันยายน 2548
โดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่ากุยบุรี
ตลอดจนส่งให้กับพื้นที่เพาะปลูกที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ
ประโยชน์ของโครงการนี้คือ
1.สามารถเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำขึ้นจากเดิมที่มีความจุ 32.00 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มเป็น 41.10 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. สามารถสร้างความชุ่มชื้นในป่าโดยรอบ ทำให้ช้างป่ามีแหล่งน้ำกิน
3.สามารถเพิ่มพื้นที่การเกษตรได้จากเดิม 15,300 ไร่ เพิ่มเป็น 20,300 ไร่ รวมทั้งสามารถช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับลุ่มน้ำกุยบุรีได้
ตอนนี้หน้าแล้งแต่ปริมาณน้ำในอ่างก็ยังเต็ม
อาคารระบายน้ำล้น (Spillway)
อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กรูปตัวยู (U) ชนิด Ogee Weir ความยาวสันฝาย 175.00 เมตร กว้าง 39.00 เมตร ระบายน้ำได้สูงสุด 650.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
แดดร้อนแต่ลมแรงดีค่ะ เหมาะที่จะมาตอนช่วงเย็น
ถ่ายรูปเสร็จก็เดินทางต่อค่ะ ขับขึ้นเหนือไปตามสันเขื่อน
สุดสันเขื่อนก็ขับไปตามถนนหมายเลข 3217 อีกประมาณ 6 กม.
มาถึงจุดหมายแล้วค่ะ "บ้านรวมไทย"
ชุมชนท่องเที่ยวบ้านรวมไทย
บ้านรวมไทยก่อตั้งเมื่อปี 2521 เมื่อก่อนเคยเป็นพื้นที่สีแดง ทางรัฐจึงมีแนวคิดเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่กันชน โดยให้ชาวบ้านที่ไม่มีที่ทำกินและกล้าเข้ามาอยู่อาศัย โดยรัฐจะมอบที่ทำกินให้ครอบครัวละ 23 ไร่
รัฐส่งเสริมเกษตรกรรมโดยเฉพาะการปลูกสับปะรดเพราะทนแล้งได้ดี
ชาวบ้านไม่มีสิทธิขายที่ดินเพราะกรรมสิทธิ์เป็นของกรมป่าไม้
บ้านรวมไทยมีประชากรประมาณ 2,000 คน เป็นหมู่บ้านที่ใหญ่ที่สุดใน ต.หาดขาม อ.กุยบุรี
ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรมและปศุสัตว์
ประวัติบ้านรวมไทย
ขับรถตรงไปตามถนนเส้นหลักของหมู่บ้าน มีป้ายบอกทางไปชมช้างป่า
เลี้ยวซ้ายไปวัดรวมไทย แต่พวกเราขับตรงไปค่ะ
อุทยานแห่งชาติกุยบุรีกำหนดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมสัตว์ป่าได้ในเวลา 14.00-17.00 น.
ขับลอดอุโมงค์ต้นจามจุรี ถนนจะขรุขระหน่อยค่ะ
ถึงจุดหมายแล้วค่ะ
ทุ่งหญ้า 1500 ไร่
ถนนเล็กๆตัดผ่านกลางทุ่งหญ้า
ชาวบ้านบอกว่าที่นี่คือสวิตเซอร์แลนด์เมืองไทยค่ะ
ทุ่งหญ้า ภูเขา และวัว
ด้านหลังคือเทือกเขาตะนาวศรี เป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทย-เมียนมา
จากจุดนี้ไทยอยู่ห่างจากเมียนมาประมาณ 20 กิโลเมตร
เข้าไปถ่ายรูปกับวัวกันหน่อยค่ะ
วัวก้มหน้ากินหญ้าโดยไม่สนใจมนุษย์สามคนนี้เลย
ในทุ่งนี้มีหญ้า 2 สายพันธุ์ คือ หญ้ารูซี่(หญ้าคองโก) : Ruzi Grass
เป็นหญ้าพื้นเมืองของแอฟริกา ใบใหญ่มีขน โตเร็ว ทนแล้ง นิยมปลูกไว้เลี้ยงโค กระบือ
อีกสายพันธุ์คือ หญ้าแพงโกล่า : Pangola Grass
ใบเล็กเรียวยาวไม่มีขน นิยมนำไปทำหญ้าแห้ง มีสารอาหารสูง
ทุ่งหญ้าทางฝั่งขวาน่าจะโดนเก็บเกี่ยวไปเกือบหมดแล้ว
ฝั่งนี้หญ้ามีสีน้ำตาลเหมือนทุ่งหญ้าสะวันนา
ถ้ามียีราฟอยู่ในเฟรมด้วยจะสวยมากเลยค่ะ55
แดดจัดจ้านมากเลยค่ะ
สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบปลูกหญ้ากว่า 1,500 ไร่
โดยให้ชาวบ้านเข้ามาเกี่ยวหญ้าไปให้อาหารสัตว์ได้
และถ้าจังหวัดใดประสบภัยแล้งจนขาดแคลนหญ้าก็จะนำหญ้าจากในพื้นที่นี้ไปช่วยเหลือ
น้องวัวตัวนี้สนใจมนุษย์ด้วยค่ะ
ยืนจ้องตากันสักพักก็หลบตาแระ55
รูปสุดท้ายก่อนออกจากทุ่งหญ้า
เดินเล่นที่อุโมงค์จามจุรี
ถ่ายรูปเสร็จก็ออกเดินทางต่อค่ะ
ขับรถย้อนกลับทางเดิม ผ่านหมู่บ้านรวมไทย
ซุ้มประตูของหมู่บ้านรวมไทย ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ