TUKEMD

__TUKEMD__ชื่อบ้าน อ่านว่า ตุ๊ก-เอ็ม-ดี นะจ๊ะ เป็นชื่อในเน็ตของแม่ตุ๊กเองค่ะ

บ้านหลังน้อย หลังนี้เป็นของแม่ตุ๊ก,น้องมะปราง และ คุณป๋า

เป็นบล็อกเพื่อบันทึกความสุข ความทรงจำ ในการท่องเที่ยวที่ต่างๆของครอบครัวเราค่ะ



2563/05/02

หาดบ่ออิฐ อ.เมืองสงขลา

วันเสาร์ที่ 2 พ.ค.2563

เวลา 15:00 น. ฝนตกปรอยๆ พวกเราออกเดินทางไปเที่ยวอีกแล้ว เย็นนี้ไปทะเลสงขลากันค่ะ 
ใช้เส้นทาง ถ.กาญจนวนิช ขับตรงไปจนถึง ต.ควนหินแล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนหมายเลข 3015

เปิดกูเกิ้ลแมพ ใช้เส้นทางลัดเพื่อเข้าสู่ถนนหมายเลข 408
 ถนนเส้นนี้วิวสวยมากค่ะ มองเห็นทะเลอยู่ไกลๆ

ป้ายบอกทางไปสงขลา 

ขับตรงไปจนสุดถนนแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข 4309 ต.เกาะแต้ว

ขับต่อไปอีกประมาณ 2 กม. ก็เลี้ยวขวาที่ซอยเล็กๆเพื่อเข้าสู่ถนน สข.2004

ขับตรงไปอีกประมาณ 5 กม.ก็จะเห็นชายหาดและหมู่บ้านริมทะเล 

เลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบชายทะเลอีกประมาณ 400 เมตร ก็มาถึงจุดหมายแล้วค่ะ
ชายหาดบ่ออิฐ 

ทิวสนทอดยาวตามแนวชายหาด ร่มรื่นดีค่ะ

ลานวงกลมมีม้านั่งยาวริมทะเล

หาดบ่ออิฐ ที่ตั้ง ม.8 ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา


เรือกอและ

เรือประมงจอดเรียงรายตามแนวชายหาด

บริเวณนี้เป็นเวิ้งอ่าว มีเขื่อนหินป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง 


บ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา เป็นหนึ่งในชุมชนชาวเลของ จ.สงขลา 
ที่ยังคงยึดอาชีพทำการประมงชายฝั่งสืบทอดกันมาสู่รุ่นปัจจุบัน

บริเวณนี้เป็นชายหาดเล็กๆยื่นไปในทะเลด้านหน้ามีเขื่อนหินกั้นไว้


เรือประมงสีสวยเพิ่มสีสันให้ชายหาด


ชิงช้าไม้บนชายหาด

เด็กๆชอบชิงช้า

มุมนั่งเล่นสบายๆ



เรือประมงพื้นบ้าน

รางไม้วางอยู่ด้านล่างเรือไม้ 

เอกลักษณ์ของชาวประมงพื้นบ้านที่ชุมชนบ้านบ่ออิฐ คือ วิธีนำเรือขึ้นฝั่ง
ในเวลาที่นำเรือกลับเข้าฝั่ง หรือในช่วงที่คลื่นลมแรง

วิธีนำเรือขึ้นฝั่ง คือการนำไม้มาทำเป็นรางไม้สำหรับลากเรือขึ้น  ซึ่งรางแต่ละอันจะกว้างประมาณ 1 เมตร                         ยาว 2-3 เมตร นำมาวางต่อกันเป็นช่วงๆ ตั้งแต่ริมทะเลจนถึงจุดที่จะนำเรือมาจอด 

 ชาวประมงชายและหญิง 4-5 คน จะมาช่วยกันดันเรือขึ้นฝั่ง  เรือจะลื่นไหลไปตามราง
ทำให้การนำเรือขึ้นฝั่งง่าย ใช้เวลาไม่นาน และจะหมุนเวียนช่วยเหลือกันแบบนี้ทุกครั้งที่นำเรือเข้าฝั่ง

ช่วงนี้มีพายุลมแรงเลยมีการนำเรือขึ้นฝั่งมาจอดยาวตลอดแนวชายหาด


ชุมชนบ่ออิฐ ซึ่งเป็นชุมชนชาวเลที่ยังคงสืบทอดความเป็นลูกชาวเลมาจนถึงปัจจุบัน

เรือไฟเบอร์กลาส

เรือแต่ละลำก็มีสีสันและการตกแต่งแตกต่างกัน

บางลำก็มีชื่อเขียนไว้ตรงหัวเรือ


ปกติที่ชายหาดนี้จะมีเปลือกหอยหลากหลายชนิด

ช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกวันชายหาดสะอาด เลยไม่ค่อยเห็นเปลือกหอยค่ะ


เขื่อนหินเป็นจุดเด่นของหาดบ่ออิฐ มีความยาว 200 เมตร กว้าง 4 เมตร  






เรือบางลำที่ไม่นำขึ้นฝั่งก็สามารถหลบลมหลังเขื่อนหินได้

เสาผูกยึดเรือ เวลาเดินต้องระวังสะดุดเชือกด้วยค่ะ 


คนนิยมขึ้นไปถ่ายรูปบนเขื่อนหิน

บันไดไม้เล็กๆสำหรับปีนขึ้นไปบนเขื่อน

บนเขื่อนลมแรงมากๆ มะปรางบอกว่าเหมือนตัวจะปลิวเลย

วิวด้านบนสวยดีค่ะ


เขื่อนทำจากหินก้อนใหญ่ๆมาวางเรียงกัน เวลาเดินจะลำบากหน่อย

อากาศสดชื่นเย็นสบายมาก

คนนิยมมาตกปลาบนเขื่อนนี้ด้วยค่ะ

คลื่นกระทบเขื่อน

เดินเล่นและถ่ายรูปเสร็จก็ลงไปด้านล่าง

ชายหาดเป็นรูปครึ่งวงกลม ตอนนี้มีเด็กๆมาเล่นน้ำทะเลด้วยค่ะ


วันนี้เมฆค่อนข้างครึ้มมีฝนปรอยๆอากาศเลยไม่ร้อน
 
น้ำทะเลไม่ใสเป็นสีโคลนเพราะคลื่นลมแรง

เดินเล่นถ่ายรูปชายหาดกันสักหน่อย

มาเที่ยวทะเลแบบไม่มีคนเลย สบายและสงบมาก


เดินย้อนกลับทางเดิม

ชิงช้าไม้ริมหาด 2 อันและแนวสน




เก็บรูปบรรยากาศรอบๆ

บรรยากาศชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน

รูปสุดท้ายก่อนกลับ

ขับรถต่อไปตามถนนเลียบชายหาด


ด้านนอกลมแรงมากค่ะ คลื่นแรงซัดขอบถนนจนพังหลายจุด

หาที่จอดรถและทานอาหารเย็นริมทะเลกันค่ะ

ทานกันในรถเลยค่ะ แม่ตุ๊กเตรียมมาจากบ้านทั้งอาหาร ขนมและน้ำ

ทานไปชมวิวทะเลไปก็มีความสุขแล้ว


ทานอาหารเสร็จก็ลงไปเดินเล่นสักนิด



ออกเดินทางต่อค่ะ

หาดชลาทัศน์

สวนสน

ตอนนี้มีการปิดหาดเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 คุณป๋าเลยพาขับรถชมวิวชายหาดหนึ่งรอบ

แวะถ่ายรูปที่หาดใกล้ๆตลาดเก้าเส้ง


ด้านหน้าคือเขาเก้าแสน


มัสยิดและชุมชนเก้าเส้ง


วัดเขาเก้าแสน และ หัวนายแรง
 จุดเด่นคือก้อนหินขนาดใหญ่ที่วางอยู่ริมหน้าผา

วัดเขาเก้าแสน ตั้งอยู่บนเขาเก้าเส้ง ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา

ตำนานเล่าว่า "นายแรง" พ่อค้าเรือสำเภานำทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทองมูลค่าประมาณ "เก้าแสนบาท"
เพื่อจะไปร่วมสร้างพระธาตุที่เมืองนครศรีธรรมราช แต่เมื่อมาถึงเมืองสงขลาได้ข่าวว่าพระธาตุเมืองคอน หรือพระธาตุยอดทอง ได้สร้างเสร็จแล้ว นายแรงจึงตัดสินใจฝังสมบัติไว้ที่นี่ และอธิษฐานให้ยกหินก้อนใหญ่มาปิดเอาไว้ และก่อนนายแรงตาย ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า คนที่จะมายกหินก้อนนี้ออกได้ต้องเป็นทายาทของตนเองเท่านั้น และก็ยังไม่มีใครมายก หรือผลักหินก้อนนี้ให้ตกลงทะเลไปได้ 
ชาวสงขลาจึงเรียกหินก้อนนี้ว่า “หัวนายแรง” 
และเรียกเนินเขาที่ทอดยาวลงสู่อ่าวสงขลาว่า “เก้าเส้ง” ซึ่งเพี้ยนมาจาก “เก้าแสน” นั่นเอง

ชายหาดชลาทัศน์มีความยาวตั้งแต่เขาเก้าแสนไปจนถึงหาดสมิหลา


มองเห็นเกาะหนู เกาะแมวอยู่ไกลๆ

ทะเลในวันที่ไม่มีนักท่องเที่ยวเงียบและสะอาดมาก

รูปสุดท้ายก่อนเดินทางกลับบ้าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น