เวลา 8:00 น.ออกเดินทางจากบ้านไป อ.คลองหอยโข่ง ระยะทางประมาณ 30 กม.
เวลา 8:30 น.เดินทางมาถึงจุดหมายคือ ฟาร์มกล้วยไม้ค่ายรัตนพล
พวกเรามาถึงแต่เช้าอากาศไม่ร้อนและไม่มีคนเลยค่ะ
ฟาร์มนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกองพลพัฒนาที่ 4 ค่ายรัตนพล อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
ด้านในเข้าชมฟรีค่ะ ตอนนี้มีทหารคอยดูแลกล้วยไม้อยู่ 1 คน
พลตรี จีรัชญ์ บุญชญา ผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 4 กล่าวว่า ทางกองทัพบกได้มีนโยบายให้เปิดค่ายเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงมีแนวคิดในการผลักดันให้ค่ายรัตนพลเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นแหล่งสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับกำลังพลและประชาชนในพื้นที่ จึงได้มีข้อยุติในการทำฟาร์มกล้วยไม้ โดยการร่วมหุ้นของกำลังพลมาเป็นทุนในการดำเนินงาน
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา
ที่มาของฟาร์มกล้วยไม้เริ่มจากการส่งทหารไปดูงาน เรียนรู้การปลูกกล้วยไม้ที่ฟาร์มใน จ.นครปฐม
และนำมาเริ่มปลูกเองในฟาร์ม
เป้าหมายหลักของการสร้างฟาร์มกล้วยไม้แห่งนี้คือเพื่อเป็นฟาร์มตัวอย่างให้แก่เกษตรกร
หรือผู้ที่สนใจได้มาศึกษาดูงาน และนำไปปลูกเป็นอาชีพ เนื่องจากพื้นที่ในจังหวัดทางภาคใต้มีฟาร์มกล้วยไม้ค่อนข้างน้อย
กล้วยไม้ในฟาร์มมีจำนวน 13 สายพันธุ์ ประกอบด้วย สายพันธุ์ป๊อปอาย ซีซ่า หวายสีส้ม แดงดอกใหญ่
ซีเอฟ ศรีไพร ซี่ซ่าแดง ชมพู เอียสกุล ป๊อป สายรุ้งและผักบุ้ง
แต่ละสายพันธุ์มีรูปทรง สีสันและกลิ่นหอมที่แตกต่างกัน
นอกจากปลูกเป็นไม้ตัดดอกแล้ว ยังทำเป็นไม้แขวน-ไม้กระถางเพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว
และเกษตรกรที่ต้องการหาซื้อต้นพันธุ์ไปปลูกด้วย
ถามทหารที่ดูแลบอกว่ากระถางละ 40 บาท
เลือกต้นสวยๆแล้วก็ซื้อกลับบ้านได้เลยค่ะ
ในโรงเรือนค่อนข้างชื้น เพราะมีสปริงเกอร์กระจายอยู่ทั่วทุกแปลงค่ะ
สีม่วงสวยมาก
เดินถ่ายรูปกันเพลินๆ
ปัจจุบันฟาร์มกล้วยไม้แห่งนี้มีกล้วยไม้ 99,000 ต้น
ภายในฟาร์มเป็นรูปแบบของโรงเรือนหลังคาสูง มีตาข่ายกรองแสง อากาศปลอดโปร่ง
ภายในฟาร์มแบ่งโซนการปลูกกล้วยไม้ เป็นโซนไม้ตัดดอก และโซนไม้จำหน่าย ไม้กระถาง
ฝัั่งนี้น่าจะเป็นโซนตัดดอกขาย เพราะออกดอกสวยทุกต้นเลยค่ะ
รายได้จัดจำหน่ายจะนำไปดูแลด้านสวัสดิการของกำลังพลและพัฒนาพื้นที่ภายในกองพลพัฒนาที่ 4
ฟาร์มกล้วยไม้มีขนาด 5 ไร่ เป็นแหล่งปลูกกล้วยไม้รายใหญ่สุดในพื้นที่ภาคใต้
สายพันธุ์ที่เด่นๆ เป็นรู้จักของผู้ที่ชื่นชอบกล้วยไม้และตลาดต้องการ เช่น สายพันธุ์กล้วยไม้แคระ
พันธุ์แวนด้า และพันธุ์ซีเปีย
เป้าหมายหลักของการสร้างฟาร์มกล้วยไม้แห่งนี้ขึ้นมาคือเปิดเป็นฟาร์มตัวอย่างเพื่อถ่ายทอดความรู้
ให้เกษตรกรและผู้สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพ
เดินถ่ายรูปจนทั่วทุกแปลงเลยค่ะ สีสวยสดชื่นมาก
เดินทางไปเที่ยว อ.สะเดากันต่อค่ะ
เวลา 10:00 น. เดินทางมาถึง วัดสืบสุข (วัดโคกศักดิ์)
ตั้งอยู่ริมอยู่ริมถนนสายหลัก ถ.กาญจนวนิช ต.พังลา อ.สะเดา จ.สงขลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ด้านหน้ามีอนุสาวรีย์อยู่ตรงกลาง
อนุสาวรีย์เสด็จออกผนวช
เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 4 คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ
จึงตัดสินพระทัยออกผนวช
พระองค์ทรงม้ากัณฐกะมีนายฉันทะตามเสด็จ
วิหารพระพุทธไสยาสน์
เข้าไปไหว้พระด้านในกันค่ะ
พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) : พระสีห์ไสยาสน์ วัดสืบสุข
โดยพระพุทธรูปองค์นี้สร้างไว้ เพื่อเป็นถาวรวัตถุแห่งแรกของวัด สร้างโดยฝีมือของชายหนุ่มจากรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย นามว่า "นายลาว" เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าอาวาส
เมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ.2502 เวลาประมาณ 10.00 น. หลังจากที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จเยี่ยมเยือน
ราษฏรในพื้นที่จังหวัดสงขลา และกำลังจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นครั้งแรก โดยพระองค์ได้ใช้เส้นทางถนนกาญจนวนิช ชาวบ้านที่ได้ทราบข่าวต่างมาเฝ้ารอรับเสด็จพระองค์ตลอดสองข้างทาง ทางเจ้าอาวาสวัดสืบสุข (ท่านอาจารย์เนือง) ได้มีการตั้งพลับพลาที่หน้าวัด เพื่อให้พระสงฆ์ได้สวดชยันโต (มงคงคาถา) ถวายพระพร ในขณะที่ขบวนรถพระที่นั่งของพระองค์เสด็จฯผ่านวัดสืบสุข รถพระที่นั่งผ่านไปได้ไกลพอสมควร แต่แล้วสิ่งที่ทำให้ราษฏรที่เฝ้ารอรับเสด็จตกตะลึงก็เกิดขึ้น เมื่อรถพระที่นั่งของพระองค์ก็ค่อย ๆ ถอยกลับมาหยุดอยู่ตรงบริเวณหน้าวัด ในหลวงรัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จลงจากรถพระที่นั่ง และเข้าไปกราบนมัสการพระนอนด้านในวัด
ในหลวงรัชกาลที่ 9 เดินชื่นชมองค์พระพุทธรูปองค์นี้อยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะตรัสกับเจ้าอาวาส
และนายช่างที่สร้างพระพุทธรูปว่า "สร้างได้สวยงามมาก"
ทรงพระราชทานลงพระปรมาภิไธย "ภปร" และ "สก"ไว้ที่พระเขนยของพระพุทธไสยาสน์
และพระราชทานนามว่า "พระพุทธสุขวโรภาส" เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมคม 2506
พร้อมทั้งทรงฉายพระรูปคู่กับอดีตเจ้าอาวาส บริเวณหน้าองค์พระพุทธไสยาสน์
และพระราชทานนามว่า "พระพุทธสุขวโรภาส" เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมคม 2506
พร้อมทั้งทรงฉายพระรูปคู่กับอดีตเจ้าอาวาส บริเวณหน้าองค์พระพุทธไสยาสน์
พระพุทธสุขวโรภาส
เดินชมรอบๆองค์พระนอน
ชมพระนอนเสร็จก็ไปชมศาลาที่อยู่ด้านข้างกันต่อค่ะ
ศาลาแห่งนี้น่าจะสร้างมาจากความร่วมมือร่วมใจของพุทธศาสนิกชนชาวเมียนมาที่มาทำงานแถวนี้
ได้ใช้เวลาว่างมาทำบุญทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
เทพทันใจ
พระพุทธรูปประจำวัดเกิด
รูปปั้นสิงโตคู่สีทองด้านหน้าวิหารพระนอน
พลับพลาที่ประทับสมเด็จย่า เมื่อครั้งเสด็จพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 1 มีนาคม 2520
วัดสืบสุข ก่อนที่จะสร้างเป็นวัดขึ้นมาได้มีพระครูสุขวโรภาส ได้เดินธุดงค์มาพำนักอยู่ที่บ้านโคกศักดิ์
ในที่ดินของนายสืบสุข คีรีวัฒน์ ต่อมาเจ้าของที่ดินได้บริจาคให้เป็นที่สร้างวัด
ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดวันที่ 7 พฤศจิกายน 2510 กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งวัดวันที่ 20 สิงหาคม 2512 ให้มีนามว่า วัดสืบสุข ตามชื่อผู้สร้างวัด ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดโคกศักดิ์ ตามชื่อหมู่บ้าน
วัดสืบสุข ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 1 มีนาคม 2520
ในที่ดินของนายสืบสุข คีรีวัฒน์ ต่อมาเจ้าของที่ดินได้บริจาคให้เป็นที่สร้างวัด
ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดวันที่ 7 พฤศจิกายน 2510 กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งวัดวันที่ 20 สิงหาคม 2512 ให้มีนามว่า วัดสืบสุข ตามชื่อผู้สร้างวัด ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดโคกศักดิ์ ตามชื่อหมู่บ้าน
วัดสืบสุข ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 1 มีนาคม 2520
เดินไปชมพระพุทธรูปด้านหน้าวัดกันค่ะ
พระพุทธรูปสีขาว 8 องค์
รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม
เดินเล่นสักพักก็เดินทางกลับบ้านค่ะ