เวลา 7:00 น.มะปรางเดินทางโดยรถบัสเพื่อไปทำกิจกรรมบูรณาการ(ทัศนศึกษา) ของนักเรียนชั้น ม.4
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และอุทยานธรณีสตูล จ.สตูล
เวลา 10:00 น.เดินทางถึงอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
เขาโต๊ะหงายเป็นภูเขาลูกโดด ๆ มีขนาดพื้นที่ประมาณ 600×300 ตารางเมตร เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และเป็นหนึ่งในพื้นที่ของอุทยานธรณีโลกมีลักษณะเป็นผาชันติดทะเลทางด้านตะวันตก ด้านใต้ และด้านตะวันออก มีสะพานเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราเลียบไปตามชายฝั่งผาชันด้านตะวันออก แล้วโค้งไปทางตะวันตกผ่านเขตรอยต่อระหว่างหินปูนสีเทากับหินทรายสีแดง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา มีพื้นที่ 494.38 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมที่ดินผืนป่าเกาะเภตรา
เกาะเขาใหญ่ และหมู่เกาะใกล้เคียงในพื้นที่ ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง , ต.ขอนคลาน อ.ทุ่งหว้า , ต.แหลมสน และ ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2527 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำตับที่ 49 ของประเทศไทย
เกาะเขาใหญ่ และหมู่เกาะใกล้เคียงในพื้นที่ ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง , ต.ขอนคลาน อ.ทุ่งหว้า , ต.แหลมสน และ ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2527 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำตับที่ 49 ของประเทศไทย
สะพานข้ามกาลเวลา ชมความมหัศจรรย์ของเขาโต๊ะหงาย
สะพานเดินเท้าเริ่มจากที่ทำการอุทยาน
เริ่มเดินเลียบไปตามชายฝั่งภูเขาด้านตะวันออก
เจ้าหน้าที่อุทยาน เดินนำเด็กๆไปตามสะพาน
ทางเดินเป็นพื้นปูนดูแข็งแรงปลอดภัย เดินสบาย มีรั้วกั้นสองข้างทางตลอดแนว
แวะถ่ายรูปเป็นระยะ
ฝั่งซ้ายมือคือทะเล ฝั่งขวามือคือผาหิน
แดดร้อนจัดมากค่ะ
ปรากฏการณ์ธรรมชาติอยู่ในบริเวณหนึ่งของหน้าผาริมทะเลคือมีการชนกันหรือรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค คือหินทรายสีแดงแห่งยุคแคมเบรียน( Cambrian 542-488 ล้านปี) และหินปูนสีเทาแห่งยุคออร์โดวิเชียน ( Ordovician 488-444 ล้านปี) ที่เกิดจากรอยเลื่อนของเปลือกโลกทำให้หิน 2 ยุคเคลื่อนตัวมาชนกัน
ชั้นหินทรายสีแดงยุคแคมเบรียน (กลุ่มหินตะรุเตา) มีหินปูนยุคออร์โดวิเชียน (กลุ่มหินทุ่งสง) วางตัวปิดทับอยู่ด้านบน ทำให้เห็นรอยสัมผัสแบบรอยเลื่อนปกติระหว่างกลุ่มหินทั้งสองที่มีอายุแตกต่างกัน
หากเราเดินบนสะพานจากด้านหินปูนสีเทาข้ามระนาบรอยเลื่อนไปยังด้านหินทรายสีแดง
ถือได้ว่ากำลังมีอายุมากขึ้นจากยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician)ไปเป็นยุคแคมเบรียน (Cambrian)
โดยผ่านระนาบรอยเลื่อน ถือว่าเป็น "เขตข้ามกาลเวลา"
ระนาบสัมผัสระหว่างกลุ่มหินทั้งสองนั้นเป็นระนาบรอยเลื่อนที่มีการวางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันออก และจากการที่ชั้นหินทรายสีแดงมีการวางตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุมเอียงเท 22 องศา
แล้วค่อยๆเพิ่มการเอียงเทมากขึ้นจนอยู่ในแนวตั้งฉากที่บริเวณด้านใต้ของระนาบรอยเลื่อนนั้น
ทำให้กล่าวได้ว่าเป็นรอยเลื่อนปกติ
Time Travel Zone
ยูเนสโก (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียนครอบคลุมพื้นที่นี้เป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของไทย
เด็กๆถ่ายรูปกันสนุกสนานที่เขตข้ามกาลเวลา
เดินต่อไปตามสะพานข้ามกาลเวลาทางฝั่งตะวันตก
ระยะทางยังอีกยาวแวะถ่ายรูปกันก่อน
แดดร้อนแต่เด็กๆยังร่าเริง
บางช่วงมีร่มไม้ก็เย็นสบายนิด
ศาลานั่งพักที่จุดสิ้นสุดสะพาน
เดินขึ้นไปตามทางเดินแนวริมเขาจนถึงหาดหินหลากสี
อยู่ใกล้ด่านตรวจเขาโต๊ะหงาย ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จ.สตูล
รูปภาพและคำบรรยายของหาดหินหลากสี
เดินลงบันไดไปชมหาดที่ด้านล่าง
เป็นหาดทรายเล็กๆ ที่มีหินก้อนกลมมนอยู่ปะปนกันบนชายหาด
ในช่วงที่น้ำลงหินสีเหล่านี้จึงจะโผล่ขึ้นมาจนเกือบเต็มทั้งชายหาด
ตอนนี้ใกล้เที่ยง น้ำทะเลขึ้นมามากแล้วเลยไม่ค่อยเห็นหินค่ะ
หินที่มีสีสันเหล่านี้ประกอบด้วย
-สีแดงเป็นหินทรายในช่วงยุคแคมเบรียน(อายุ 500 ล้านปี) สีแดงหรือชมพูมาจากปริมาณธาตุเหล็กในหิน
- สีเทาหรือสีฟ้ามาจากหินปูนยุคออร์โดวิเชียน (อาย 470 ล้านปี)
ถ้าสีเทาเข้มจนเกือบดำ เกิดจากการมีแร่มลทินมาก
ถ้าสีเทาอ่อนจนเกือบฟ้า เป็นองค์ประกอบหินที่บริสุทธิ์ มีแร่มลทินปนอยู่น้อย
-สีเหลืองหรือน้ำตาล เป็นหินทรายผุ
-สีขาว คือแร่ควอตซ์ ที่มักพบเห็นตามหาดหินทั่วไป
หินเหล่านี้เกิดจากการผุพังแล้วถูกคลื่นซัดพัดพาขัดสีกันในเวลานานจนมีลักษณะกลมมน
เมื่อมาอยู่รวมในสถานที่เดียวกัน จึงเกิดเป็นความมหัศจรรย์เกิดขึ้น
เวลาที่เหมาะสมในการมาชมคือ ข้างขึ้น 13 ค่ำ-3 ค่ำ ข้างแรม 13 ค่ำ- 3 ค่ำ
ช่วงเดือนที่เหมาะสม พฤศจิกายน-เมษายน
ช่วงเวลาเย็นและน้ำลง จะเป็นช่วงที่หาดสวยงามที่สุด
ช่วงน้ำลดจะเห็นหินหลากสีนี้กระทบกับแสงอาทิตย์มีความสวยงามแปลกตา
เดินเลียบชายหาดเพื่อไปขึ้นรถบัส
เวลา 11:30 น. ขึ้นรถบัสออกเดินทางต่อ
เวลา 11:45 น.เดินทางมาถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสตูล งานที่สำคัญอย่างหนึ่งของที่นี่คือขยายพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์
เพาะพันธุ์ปลิงทะเล
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสตูล เริ่มศึกษาการเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยนำพ่อแม่พันธุ์มาจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงจังหวัดกระบี่ นำมาศึกษาค้นคว้าจากพฤติกรรมการวางไข่และการเจริญเติบโตของปลาการ์ตูน สามารถเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนได้ 5 ชนิด คือ
1.ปลาการ์ตูนส้มขาวหรือเรียกว่าปลานีโม่
2.ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง
3.ปลาการ์ตูนอานม้าซึ่งมีสีดำสลับขาว
4.ปลาการ์ตูนมะเขือเทศมีแถบที่หัว
5.ปลาการ์ตูนแดงซึ่งมีราคาแพงที่สุด
ปลาการ์ตูนอานม้า มีสีดำสลับขาว
ปลาการ์ตูนส้มขาว (ปลานีโม่)
ปลาการ์ตูนแดง มีแถบสีขาวพาดที่หัว กลางลำตัว และโคนหาง (ราคาแพงที่สุด)
ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ มีแถบสีขาวที่หัว
มะปรางกับปลาการ์ตูนจ้องตากัน 555
หอยหวาน
ชมปลาการ์ตูนเสร็จก็ออกมาเดินเล่นที่ริมทะเล
มองเห็นเกาะลิดีใหญ่และเกาะลิดีเล็ก
ท่าเทียบเรือประมง
รถบัสมารับแล้ว ออกเดินทางไปทานอาหารกลางวันกันค่ะ
เวลา 12:30 น.อาหารมื้อนี้เป็นข้าวกล่องทานที่ร้านอาหารริมทะเล
ทานอาหารเสร็จก็มาเดินเล่นริมทะเล
วันธรรมดาแบบนี้ไม่มีนักท่องเที่ยวเลยค่ะ
ชายหาดสะอาดดีและเงียบสงบมาก
ถ่ายรูปกันสนุกสนานท่ามกลางแดดร้อนจัด
เวลา 13:00 น.ขึ้นรถบัสออกเดินทางต่อค่ะ
เวลา 13:30 น.เดินทางถึงอุทยานธรณีสตูล
วันที่ 17 เมษายน 2561 องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO ได้ประกาศให้จังหวัดสตูล บนพื้นที่ สตูลจีโอพาร์คเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกในไทย
Satun UNESCO Global Geopark
เป็นอุทยานธรณีโลกประเทศที่ 36 ของโลก และเป็นแหล่งที่ 5 ของอาเซียน
เด็กๆเข้าไปฟังบรรยายเรื่องซากดึกดำบรรพ์สตูล
ฟังบรรยายเรื่องซากช้างดึกดำบรรพ์สเตโกดอน
เวลา 15:00 น.เดินทางไปชมการทำผ้ามัดย้อมของชุมชน บ้านท่าอ้อย ซื้อขนมทานเล่นในตลาด
เวลา 16:00 น.เดินทางกลับหาดใหญ่
เวลา 18:30 น.ถึง ร.ร.หาดใหญ่วิทยาลัยโดยสวัสดิภาพ