วันนี้เป็นวันครอบครัว วันหยุดคุณป๋าไม่ต้องทำงานเลยพาไปเที่ยวพัทลุง ตามคำขอของแม่ตุ๊กที่อยากตามรอยหนังสือที่เพิ่งอ่านจบ เรื่อง "ข้ามภพข้ามชาติ" มีการดำเนินเรื่องในจังหวัดพัทลุง
เวลา 9:00 ออกเดินทางจากบ้านขับรถมุ่งหน้าสู่ อ.เมืองพัทลุง ใช้เวลาประมาณ 1.5 ชม.ก็มาถึงเขาอกทะลุ
เขาอกทะลุตั้งอยู่ใจกลางเมืองพัทลุง ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือ ต.คูหาสรรค์ ต.ปรางค์หมู่ ต.พญาขัน
ชาวพัทลุงเชื่อว่าเขาอกทะลุมีความศักดิ์สิทธิ์ เปรียบเสมือนเสาหลักเมืองของจังหวัด
ทางราชการจึงนำเขาอกทะลุและเจดีย์บนยอดเขาไปเป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุง
เขาอกทะลุเป็นเขาหินปูน สูงประมาณ 250 เมตร บริเวณตรงกลางของยอดเขามีโพรงเป็นรูขนาดใหญ่
ทะลุไปยังอีกฝั่ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร
ไหว้พระก่อนเดินขึ้นเขาค่ะ
วันนี้วันหยุดแต่ไม่มีนักท่องเที่ยวเลย
เดินไปถึงทางแยกค่ะ บันไดแยกไปทางซ้ายคือไปสำนักสงฆ์วังสุขคติธรรม
ยังต้องขึ้นไปอีกไกลพอสมควร
หยุดพักเหนื่อยแวะถ่ายรูป ที่เห็นข้างหน้าคือ เขาหัวแตก (มีตำนานร่วมกับเขาอกทะลุ)
พวกเราจะขึ้นไปสู่เขาอกทะลุเลยเดินขึ้นบันไดทางขวา อากาศร้อนมากๆเหงื่อท่วมตัวเลยค่ะ
หนทางอีกยาวไกล
เพิ่งถึงบันไดขั้นที่ 300 !!!!!!
แม่ตุ๊กอ่านมาจากเวปว่า บันไดขึ้นสู่เขาอกทะลุมีจำนวน 1066 ขั้น......พวกเราเดินมาได้แค่ 1 ใน 3 เอง
เหนื่อย ร้อน และเริ่มหมดแรงแล้วค่ะ
เดินมาอีกสักพัก มะปรางจะเป็นลมแล้วค่ะ ต้องนั่งพัก ไปต่อไม่ไหวแล้ว
สรุปขึ้นไปไม่ถึงยอด ต้องเดินลงมาไหว้พระด้านล่างค่ะ
ขับรถออกมาอ้อมหลังเขาอกทะลุ ผ่านวัดเขาแดงก็เจอป้ายทางไปนมัสการหลวงปู่หมุน
สถานที่ประดิษฐานรูปเหมือน พระอาจารย์หมุน ยสโร
รอบๆเป็นลานกว้าง ไม่มีร่มเงาต้นไม้เลย
อยู่ติดกับเขาแดง
อากาศร้อนมากๆค่ะ
เวลา 12:00 น.ขับรถเข้ามาในเมืองพัทลุงทานอาหารเที่ยงกันค่ะ
ทานเสร็จก็ขับรถออกนอกเมืองไปวัดท่าแค ต.ท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง
วัดนี้มีสถานที่สำคัญคือ "โรงโนราโรงครู"
ชาวบ้านเชื่อว่าบ้านท่าแคเป็นแหล่งกำเนิดโนราและเป็นแหล่งสถิตย์หรือพำนักของครูโนรา
โนราโรงครู เป็นพิธีอัญเชิญครูหรือบรรพบุรุษโนรามายังโรงพิธี เพื่อทำพิธีไหว้ครู และยังมีการจัดทำพิธี ครอบเทริด แก่โนรารุ่นใหม่ โดยโนราโรงครูวัดท่าแค ถือว่าเป็นศูนย์กลางโนราโรงครูภาคใต้
รอบๆเป็นลานดินกว้างๆ เพื่อจัดงานได้สะดวก
รูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาสวัดท่าแค
ข้างๆเป็นศาลา "พ่อขุนศรัทธา" สร้างขึ้นโดยพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ในปี พ.ศ.2514
ด้านหน้าศาลา มี "หลักพ่อขุนศรีศรัทธา"
ด้านในเป็นไม้แกะสลักท่ารำโนราทั้ง 12 ท่า ถือเป็นที่เคารพสักการะของโนรารุ่นหลัง
เสาด้านที่ 1
เสาด้านที่ 2
เสาด้านที่ 3
เสาด้านที่ 4
แกะสลักได้สวยงาม คมชัด ท่ารำอ่อนช้อยเหมือนคนจริงๆเลยค่ะ
ด้านบนแกะสลักหน้าพรานบุญทั้ง4ด้าน
นั่งชมความงามจนเต็มอิ่มก็ไหว้ลาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายก่อนเดินทางกลับบ้านค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น