เวลา 8:30 น.เก็บกระเป๋า เช็คเอ้าท์แล้วออกเดินทางต่อค่ะ
วันนี้เราจะขึ้นไปทางเหนือกันค่ะ จุดหมายคือ อ.ปัว ขับไปตามถนนสายน่าน-ท่าวังผา(กม.20)
เห็นป้ายทางขวามือ"หอศิลป์ริมน่าน"
แวะเข้าไปชมกันก่อนค่ะ เปิดเวลา 9:00น. ค่าเข้าชมคนละ 20 บาท(ถูกจังเลย)
เข้าไปจอดรถและเดินเล่นด้านในสวนก่อนนะคะ รอเวลาเปิดหอศิลป์
บ้านพักน่ารักทุกหลังเลยค่ะ
ด้านล่างจัดแสดงภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังเมืองน่าน ภาพสวยทุกรูปเลยค่ะ(ห้ามถ่ายรูป)
ด้านหลังนี้คือหอศิลป์ค่ะ
นิทรรศการภาพเขียนฝีมือเด็กๆจาก รร.ต่างๆ
ได้เวลาแล้ว...เข้าไปชมด้านในหอศิลป์ฯกันเลยค่ะ
ผู้ก่อตั้งและดำเนินการหอศิลป์ริมน่านคือศิลปินชาวน่าน คุณวินัย ปราบริปู
ด้านในมีการจัดแสดงงานศิลป์สองชั้นค่ะ เดินตามเสือขาวขึ้นไปด้านบนได้เลย
ไม่ค่อยได้ถ่ายรูปงานศิลป์มาค่ะ เกรงใจผู้เข้าชมงานคนอื่น
ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพฯ
ภาพวาดวัดภูมินทร์
เดินชมจนครบทั้งสองชั้นก็ออกมาเดินเล่นด้านนอกค่ะ
เวลา 10:00 น.ออกเดินทางขึ้นเหนือต่อไปยัง อ.ท่าวังผา
ด้านหน้าวัด มีคุณตามานั่งเล่นสะล้อให้ฟัง เข้ากับบรรยากาศมากๆค่ะ
เป็นวัดเก่าแก่มีวิหารขนาดเล็กเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2405 (สมัยรัชกาลที่ 4)
โดยครูบาหลวงสุนันต๊ะ เพื่อให้ให้เป็นวัดประจำหมู่บ้านหนองบัว
วิหารวัดหนองบัวเป็นสถาปัตยกรรมไทยล้านนาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง
เข้าไปไหว้พระประธานด้านในค่ะ
ด้านในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ เขียนระหว่าง พ.ศ. 2410-2499 (สมัยรัชกาลที่ 5)
แต่ละภาพมีการสะท้อนความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้น
ภาพส่วนใหญ่ลบเลือนไปเยอะเหมือนกัน
ชมภายในวัดเสร็จก็เดินไปทางด้านหลังจะพบกับหมู่บ้านไทลื้อ
บ้านหนองบัวเป็นหมู่บ้านไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองลา แคว้นสิบสองปันนา เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว
มีผ้าทอพื้นเมืองจำหน่ายด้วยค่ะ
ลักษณะบ้านแบบโบราณของชาวไทลื้อ
ชื่อ"ต้นดิ๊กเดียม" เป็นไม้ยืนต้นหายาก
ลองแล้วตื่นเต้นมากๆค่ะ ลูบกันอยู่นานเลย...สนุก ต้นนี้มีอายุ 108ปี(ปลูก 29 ม.ค.2451)
เดินทางต่อมายังวัดพระธาตุเบ็งสกัด
วัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1826 โดยพญาภูคา เจ้าผู้ครองเมืองย่าง
เมื่อสร้างพระธาตุเสร็จได้มีการจัดพิธีเฉลิมฉลอง ตอนกลางคืนเกิดมีแสงสว่างเป็นรัศมี
เหมือนพระจันทร์ทรงกลดพุ่งออกมาจากยอดพระธาตุและวนเวียนไปมารอบๆพระธาตุ
พญาภูคาจึงได้ตั้งชื่อว่า "พระธาตุเบ็งสกัด"
ไหว้พระประธาน
สมัย พ.ศ. 1825-1906 เรียกเมืองนี้ว่า เวียงวรนคร แปลว่า เมืองดี ปัจจุบันเป็น อ.ปัว
ขับรถออกจากวัดพระธาตุฯ ไปวัดไทลื้อต่อค่ะ
วัดร้องแง เป็นวัดโบราณวิหารศิลปะไทลื้อ สร้างประมาณปี พ.ศ. 2310
ผนังด้านหลังองค์พระเป็นจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติและชาดก
ตัวพระวิหารของวัดได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทปูชนียสถาน
โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
ขับรถออกจากเมืองปัวประมาณ 3 กม. ไปวัดภูเก็ต
ตั้งชื่อตามชื่อหมู่บ้านเก็ต และตั้งอยู่บนเนินสูง จึงเรียกว่า วัดภูเก็ต
ต้องเดินขึ้นบันไดไปวัดค่ะ ด้านบนเป็นลานกว้างสามารถมองเห็นทุ่งนาเป็นบริเวณกว้าง
คนนิยมขึ้นมาชมวิว เวลานาข้าวสีเขียวจะสวยงามสดใสมากๆค่ะ
ด้านหลังเป็นจิตรกรรมฝาผนังแบบสามมิติค่ะ(เพิ่งเคยเห็นที่วัดนี้เป็นแห่งแรกเลยค่ะ)
เวลาเรามาไหว้พระในวัดทางภาคเหนือ เราจะเห็น"ตุง" ห้อยอยู่มากมาย
ตามความเชื่อของชาวล้านนา "ตุง" เป็นสัญลักษณ์ของความดี การทำบุญถวายตุงถือว่าได้บุญมาก
ออกมาเดินชมความงามรอบพระอุโบสถ
มีต้นดิ๊กเดียมด้วยค่ะ ลองลูบแล้วสั่นนิดๆ คงเป็นเพราะต้นยังเล็ก
แวะถ่ายรูปกับต้นไม้หายากค่ะ"ต้นเต่าร้างยักษ์" เป็นปาล์มที่ค้นพบแห่งแรกที่ จ.น่าน ใกล้สูญพันธุ์แล้ว
ขับรถเข้าไปในที่ทำการอุทยานฯ ทางขวามือเป็นลานจอดรถมีร้านค้าให้บริการอาหารและน้ำดื่ม
บนดอยนี้อากาศเย็นค่ะ แวะทานอาหารร้อนๆสักหน่อย
จุดชมทิวทัศน์
มีต้นชมภูพูคาด้วยค่ะ แต่ยังไม่ออกดอกเลย
มายืนชมวิวบนนี้ไม่เห็นวิวเท่าไรนักเพราะต้นไม้สูงบังวิวค่ะ
ขับรถย้อนออกมาทางด้านหน้า จนท.บอกว่ามีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เป็นทางเดินเข้าไปในป่า
ดูจากแผนที่แล้วน่าจะเดินไกลพอสมควร กว่าจะถึงต้นชมภูพูคา
เดินเล่นถ่ายรูปสักนิดก็ออกมาแล้วค่ะ กลัวจะมืด
จนท.อุทยานฯบอกว่าให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 8 กม.ก่อนถึงจุดสูงสุดจะมีต้นชมภูพูคาอยู่ริมถนน
แต่เพิ่งออกดอกแค่ช่อเดียวเอง คุณป๋าเลยบอกว่าเราควรจะกลับกันดีกว่าเพราะกลัวจะถึงเมืองน่านมืด ระยะทางกลับอีก 85 กม.
เส้นทางถนนบนสันเขาสองข้างทางเป็นเหว สวยแต่ก็หวาดเสียวตลอดทางค่ะ
เส้นทางคดเคี้ยวมากเราจะพบป้ายห้ามแซงตลอดทางบนเขาเลยค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น