เวลา 9:00น.เดินทางออกจากอุทยานฯ วันนี้คุณป๋ากลับเส้นทาง อ.นาน้อย(คนละเส้นทางกับตอนมา)
แวะไหว้พระที่วัดอ้อย เสียดายที่โบสถ์ปิดเลยไว้พระรอบๆแทนค่ะ
ขับรถต่อมาอีกประมาณ 30 กม.ก็มาถึง อ.เวียงสา แวะวัดบุญยืน
ต้องจอดรถไว้ด้านนอกเพราะด้านในกำลังมีการก่อสร้างกำแพงชั้นในอยู่ค่ะ
พระอุโบสถงดงาม หลังคาทำด้วยไม้สักทรงล้านนา
วัดบุญยืนเป็นพระอารามหลวงวัดแรกและวัดเดียวใน อ.เวียงสา
สร้างโดยเจ้าผู้ครองนครน่านเมื่อ พ.ศ.2343
เข้าไปด้านในโบสถ์กันค่ะ เปิดประตูก็จะพบกับ พระพุทธรูปปางประทับยืนโดดเด่นสวยสง่า
เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนที่ใหญ่ที่สุดใน จ.น่าน สูง 8 ศอก
ด้านหลังโบสถ์มีพระธาตุเจดีย์สีขาว ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ศิลปะล้านนา
ในรูปนี้จะเห็นหลังคาของพระอุโบสถเรียงลดหลั่นกันแปลกตามากค่ะ
แผนที่ อ.เวียงสา มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งค่ะ
เดินข้ามถนนมาจากวัดบุญยืน ฝั่งตรงข้ามคือ ที่ว่าการอำเภอสา
เป็นอาคารไม้โบราณที่มีประวัติว่าในปี พ.ศ.2501 พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาที่ จ.น่านเป็นครั้งแรก
และได้ทรงขึ้นไปประทับ ณ มุขหน้าที่ว่าการอำเภอ
ด้านบนเป็นห้องนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วันนี้เป็นวันหยุดค่ะ เราเลยไม่ได้เข้าไปชม
คงเพิ่งจัดงานยังไม่ได้เอาไม้ไผ่ออกเลยมองเห็นตัวอาคารไม่ชัด
ด้านหน้าที่ว่าการฯเป็นเรือยาว(ดูแล้วน่าจะยาวเกือบ10เมตร) เมืองน่านขึ้นชื่อเรื่อง ประเพณีแข่งเรือยาว
สำนักวิปัสสนาสมเด็จสุญญติวิโมกข์
เช้าวันนี้คุณป๋าได้ไหว้พระธาตุประจำปีเกิดสองที่เลยค่ะ
ภายในวิหารประดิษฐานพระนอนสีทององค์ใหญ่
ด้านในกำแพงแก้วมีวิหารหลวงอยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุ
พระธาตุแช่แห้งสีทองอร่าม ปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน
ประวัติพระธาตุแช่แห้ง สันนิษฐานว่า พญาการเมืองโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1896
(อายุราว 600กว่าปี) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย
พระธาตุมีความสูง 55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่่หลี่ยม เจดีย์ทรงระฆัง
พระธาตุแช่แห้งองค์เดิมก่อนที่จะมีการบูรณะ
พวกเราไม่ได้เข้าไปไหว้พระในวิหารหลวง เพราะมีตำรวจยืนเฝ้าอยู่หน้าทางเข้าอาจจะเป็นคนสำคัญของจังหวัดมาไหว้พระอยู่ด้านใน (ไม่กล้าถ่ายรูปวิหารหลวงมาด้วยค่ะ แอบติดหลังคานิดๆ)
เลยเดินอ้อมไปด้านหลังจะพบกับ วิหารพระเจ้าทันใจและรอยพระพุทธบาทจำลอง
เดินวนรอบเจดีย์ครบหนึ่งรอบค่ะ
คุ้มเจ้าหลวงท้าวขาก่าน ท่านเป็นเจ้าหลวงเมืองน่านผู้พิชิตญวน
เวลา 14:00 น.ออกเดินทางจาก อ.ภูเพียง ข้ามแม่น้ำกลับมาที่ตัวเมืองน่าน(ห่างกันประมาณ 3 กม.)
หาที่จอดรถบริเวณใกล้ๆ ถ.สุริยพงศ์แล้วก็เดินไหว้พระได้หลายวัดเลยค่ะ
วัดที่ 1 คือ วัดภูมินทร์
แวะเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านด้านในก่อนค่ะ
วัดภูมินทร์ สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2139 เป้นวัดเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างทรงจัตรมุข
ดูเหมือนตั้งอยู่บนหลังพญานาคขนาดใหญ่ 2 ตัว ด้านหลังที่เห็นเป็นหางพญานาคค่ะ
ด้านในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์
โดยหันพระพักตร์ออกไปที่ประตูทั้ง 4 ทิศ
ภาพ"กระซิบรักบันลือโลก" ภาพปู่ม่าน-ย่าม่าน
เป็นภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองน่านเลยค่ะ
มีภาพจิตรกรรมมากมายหลากหลายเรื่องราว
ไหว้พระพุทธรูปจนครบทั้ง 4ด้าน 4 องค์
เดินออกมาด้านหน้าพระอุโบสถจะพบกับหัวพญานาคทั้ง 2 ตัว
วัดที่ 2 วัดน้อย
รูปทรงของวัดเป็นวิหาร ก่ออิฐ ถือปูน ขนาดกว้าง 1.98 เมตร ยาว 2.34 เมตร สูง 3.35 เมตร
มีพระพุทธรูปและแผงพิมพ์ไม้ประดิษฐานอยู่ภายใน เชื่อว่าเป็นวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย
ประวัติและความเป็นมาของวัดน้อย
เดินตัดสนามมาจะพบกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
เดิมเป็นคุ้มของเจ้าผู้ครองน่าน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2446
ตัวอาคารสีเหลืองมีการตกแต่งด้วยลายลูกไม้ ด้านในมีการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับล้านนา
ความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยและมีการจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน
ที่สำคัญที่สุดคือ ห้องเก็บ"งาช้างดำ"ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุคู่เมืองน่าน
จุดนี้นักท่องเที่ยวแทบทุกคนที่มาเมืองน่านต้องถ่ายรูปค่ะ "อุโมงค์ต้นลีลาวดี"
ดูจากสภาพต้นแล้วน่าจะมีอายุเป็นร้อยปีแน่ๆเลยค่ะ
เดินมาตามถนนผากองจะพบวัดทางซ้ายมือ
วัดที่ 3 วัดหัวข่วง
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยล้านนาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 20-22 มีวิหารที่สวยงาม
เป็นอาคารทรงจั่วหน้าบันประดับลวดลายไม้รูปพรรณพฤกษา
วัดหัวข่วง เป็นวัดที่มีความงดงามของวิหาร เจดีย์ ธรรมมาส และหอไตร
เป็นศิลปกรรมแบบท้องถิ่นล้านนา กรมศิลปากรประกาศให้เป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2523
วัดที่ 4 วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
อยู่ตรงสี่แยกข่วงเมือง เป็นพระอารามหลวงสำคัญของน่าน
พระธาตุเจดีย์ฯเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ที่เจดีย์มีรูปช้างปูนปั้นเพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ
ในวิหารด้านข้างมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา"พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี"
เดืมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง
ด้านในโบสถ์มีคนมานั่งสมาธิหลายคนเลยค่ะ
เด็กน้อยกางจ้อง
เดินออกมาด้านนอกมีบ้านไม้โบราณสวยดีค่ะ
นำมาดัดแปลงเป็นร้านกาแฟยี่ห้อดัง..ดื่มกาแฟในสวน
เป็นอาคารไม้สามชั้นขนาดใหญ่ อยู่ตรงข้ามตลาดสด ด้านในแอร์เย็นมากตกแต่งหรูหรา
เราไม่ได้มาพักที่นี่นะคะ แม่ตุ๊กมาซื้อหนังสือนิยาย "สิเนหามนตาแห่งลานนา"ไปฝากเพื่อนค่ะ
แต่งโดยคุณบันฑูร ล่ำซำ เจ้าของโรงแรม(ขอบคุณภาพนี้จาก www.manager.com)
มะไฟ นางเอกของเรื่อง....ซื้อปุ๊บรีบอ่านก่อนเลยค่ะ พรุ่งนี้จะได้เที่ยวตามรอยหนังสือ
เวลา 16:00 น.ขับรถมาเช็คอินที่พักคืนนี้ค่ะ "เฮือนพักใจ"
ชั้นล่างเป็นห้องนั่งเล่น ห้องอาหารทานกาแฟ ชั้นบนเป็นห้องนอนขนาดใหญ่มากๆ
ห้องน้ำก็ใหญ่มากมีอ่างอาบน้ำครบ อาบน้ำทานขนมนอนพักสักนิด ชีวิตไม่เร่งรีบ
เวลา 17:00 น.ศึกษาแผนที่ก่อนไปเที่ยวต่อค่ะ
ด้านในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ชื่อว่า พระเจ้าสายฝน
ด้านข้างเป็นธรรมมาสน์ฝีมือช่างน่านที่เก่าแก่ที่สุด ตัวธรรมมาสน์เป็นไม้แกะสลัก
พระเจ้าสายฝน หรือพระเจ้าฝนเสนห่า เป็นพระพุทธรูปไม้ ชาวเมืองน่านเคยนำมาขอฝนเมื่อเกิดความแห้งแล้ง แต่พิธีขอฝนทำครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2533 แล้วก็ไม่ทำอีกเลยเพราะกลัวองค์พระจะชำรุด
หน้าต่างพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักลาย 12 นักษัตร
มะปรางร่วมทำบุญปิดทองช่อฟ้า...จะเห็นรูปข้างบนว่าพระอุโบสถไม่มีช่อฟ้าเพราะหักอยู่ค่ะ
สถูปเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี เป็นทรงซุ้มสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 5 ชั้น
แต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปยืน
ด้านล่างมีรอกให้เอาน้ำใส่ขันดึงขึ้นไปรดบนยอดพระธาตุได้ค่ะ
มะปรางสนุกกับการรดน้ำพระธาตุฯมากๆ
ขับรถเข้ามาในตัวเมืองน่านบริเวณสี่แยก ถ.เจ้าฟ้าตัดกับ ถ.สุริยพงษ์ จะพบกับวิหารสีทองอร่ามโดดเด่น
6.วัดศรีพันต้น
สร้างโดยพญาพันต้น แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองนครน่าน พ.ศ.1960-1969)
เป็นวัดที่มีจิตรกรรมปูนปั้นที่สวยงามมากโดยเฉพาะพญานาคเจ็ดเศียร เฝ้าบันไดวิหาร
ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังประวัติพระพุทธเจ้า และกำเนิดเมืองน่าน ลงสีธรรมชาติสีสันสวยงามมาก
เดินข้ามถนนตรงข้ามวัดคือร้านของหวานป้านิ่ม ร้านชื่อดังของน่านคนมากินกันแน่นร้านเลยค่ะ
มาทานอาหารเย็นที่ กาดข่วงเมืองน่านค่ะ (ถนนคนเดินวัดภูมินทร์) เปิดทุกวัน ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์
ข่วงเมืองน่าน คือลานโล่งขนาดใหญ่ใจกลางเมืองน่าน ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดภูมินทร์
ตอนเย็นจะมีเสื่อมาปูและมีขันโตกวางให้คนมาจับจองนั่งเล่นกันได้ตามใจ
พวกเราออกไปซื้ออาหารตรงถนนคนเดินมานั่งทานกันค่ะ ทานไปฟังเพลงไปมีความสุขมาก
ยิ่งมืดอากาศยิ่งสบาย คนก็ยิ่งแน่น นั่งกันเต็มไปหมดเลยค่ะ
เวลา 20:00 น.เดินออกมาไหว้พระ วัดสุดท้ายของคืนนี้
7.วัดมิ่งเมือง
ด้านหน้าอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของศาลพระหลักเมืองน่าน
เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ยอดเสาเป็นรูปพระพรหม 4 พักตร์ ชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
วัดนี้เดิมเป็นวัดร้าง มีเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงขนาดใหญ่ในซากวิหาร
ประมาณปี พ.ศ.2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าเมืองน่านได้สถาปนาวัดนี้ขึ้นมาใหม่
และตั้งชื่อว่า วัดมิ่งเมือง ตามชื่อเสาหลักเมือง
ปี พ.ศ.2527 ได้มีการรื้อถอนและสร้างพระอุโบสถใหม่ในรูปแบบศิลปกรรมร่วมสมัย
ตัววิหารเป็นปูนปั้นที่โดดเด่นสวยงาม สีขาวงาช้าง
ภายในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือของนายสุรเดช กาละเสน ศิลปินเมืองน่าน
เขียนขึ้นมาใหม่ คล้ายภาพจิตรกรรมวัดภูมินทร์
พวกเรามาถึงวัดมืดแล้วเลยไม่ได้ถ่ายรูปพระอุโบสถด้านนอกค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น