วันที่ 12 สิงหาคม 2555 เวลาประมาณ 10:00 น.
ขับรถออกมาจากเมืองภูเก็ตไปตามทางหลวง หมายเลข 4021 ประมาณ 8 กม.ก็ถึงวัดฉลองค่ะ
เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต
ถ้าใครมาภูเก็ตจะต้องมาแวะนมัสการ"หลวงพ่อแช่มแห่งวัดฉลอง" เพื่อเป็นสิริมงคลแต่ตัวเอง
เป็นวัดเก่าแก่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าตั้งขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัย ร.2 โดยชาวบ้านที่หลบหนีภัยสงครามพม่าที่เข้าตีเมืองถลาง อพยพมาที่บ้านฉลองและตั้งหลักแหล่ง
ทำมาหากินที่นี่ ได้ร่วมกันจัดตั้งวัดเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยอาราธนาพระภิกษุซึ่งเป็นที่นับถือและเลื่อมใสของชาวบ้านมาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดฉลอง เรียกว่า “ พ่อท่านเฒ่า ”
ทำมาหากินที่นี่ ได้ร่วมกันจัดตั้งวัดเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยอาราธนาพระภิกษุซึ่งเป็นที่นับถือและเลื่อมใสของชาวบ้านมาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดฉลอง เรียกว่า “ พ่อท่านเฒ่า ”
วันนี้อาอินพามาถวายสังฆทานค่ะ มีคู่บ่าว-สาวญี่ปุ่นมาทำบุญด้วย คนเลยหนาแน่นหน่อย
นั่งรอพร้อมเครื่องถวายสังฆทาน 1 กาละมัง
ในบริเวณวัดจะได้ยินคือเสียงปะทัดดังมากและดังเกือบตลอดเวลา เพราะเมื่อมีผู้คนที่ทุกข์ร้อนมาขอให้พ่อท่านช่วย และเมื่อได้สมความปราณีตามที่ได้ขอ โดยมากจะมาแก้บนด้วยการจุดปะทัดให้ท่าน
หลวงพ่อแช่มซึ่งเป็นลูกศิษย์ศึกษาวิปัสสนาจากพ่อท่านเฒ่าจนเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิปัสสนาเป็นอย่างสูง ได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส
หลวงพ่อแช่มมีชื่อเสียงการปรุงสมุนไพร และรักษาโรค เข้าเฝือกผู้ป่วยกระดูกหัก เคยปลุกเสกผ้าประเจียดคุ้มครองชาวบ้านให้รอดพ้นจากการโจมตีของกลุ่มโจรอั้งยี่ จึงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป แม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้วก็ยังผู้คนแวะเวียน ไปนมัสการรูปเหมือนของท่านมิได้ขาด
นอกจากหลวงพ่อแช่มแล้วยังมีหลวงพ่อช่วงและหลวงพ่อเกลื้อมก็เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก ซึ่งท่านทั้งสองมีชื่อเสียงการปรุงสมุนไพรและรักษาโรค ถึงแม้ว่าปัจจุบัน ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังมีชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อน ก็จะไปกราบไหว้ บนบานไม่ขาดสาย
ปัจจุบันนี้ได้ ประดิษฐานองค์ท่านทั้งสามที่วิหารที่สร้างอย่างสวยงาม
ซึ่งในแต่ละวันจะมีคนไทย และต่างชาติ ต่างมากราบไหว้เป็นจำนวนมาก
วันนี้อากาศร้อนอบอ้าว แดดจัดมาก
วัดฉลอง ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า " วัดไชยธาราราม "
วิหาร หลวงพ่อเจ้าวัด
มะปรางอยากเดินไปดูเจดีย์ข้างหลัง
พระมหาธาตุเจดีย์ พระจอมไทยบารมีประกาศ
ตั้งอยู่ทางด้านหลังของวัด
เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 6 มีนาคม 2541- 6 มีนาคม 2544
ภายในเงียบสงบ บริเวณชั้นแรกจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ มากมาย
บริเวณด้านข้างผนัง จะเป็นภาพวาดพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า
ตอนประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน ที่งดงามมาก
เดินขึ้นไปชั้นบนกันค่ะ
เมื่อขึ้นไปด้านบนสุดและเดินออกไปที่ระเบียงด้านนอกของเจดีย์ จะสามารถที่จะชมทิวทัศน์ของบริเวณในวัดทั้งหมดได้อย่างสวยงาม
และที่ด้านบนนี้จะเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ
มีมากมายจริงๆเลยค่ะ
หลังจากท่านได้มานมัสการที่นี่แล้วขอให้ทุกท่านเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
กุฎิจำลองหลวงพ่อแช่ม
และตัวกุฎิยังเป็นแบบทรงไทย ซึ่งเป็นเรือนไทยที่สวยงามมาก
ภายในกุฎิจำลองทางวัดได้จัดทำหุ่นขี้ผึ้งจำลอง หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง หลวงพ่อเกลี้อม
และเครื่องใช้ต่าง ๆ ของทั้งสามองค์
และเครื่องใช้ต่าง ๆ ของทั้งสามองค์
ใกล้เที่ยงแล้ว ทุกคนเริ่มหิว อาอินพาเดินไปร้าน"ริมทาง @ ฉลอง"
(อยู่ทาง ถ. หลวงพ่อแช่ม ประตูหลังวัดฉลอง)
ร้านน่ารักและร่มรื่นมาก
คุณป๋าสนใจปลาตู้นี้มาก เหมือนปลาเทศบาลแต่สีสวย
ตอนเที่ยงยังไม่ค่อยมีลูกค้า
ร้านนี้มี 2 ส่วนคือ Open air และ ห้องแอร์
ตรงนี้คือส่วน open-air (อากาศอบอ้าว)มีบึงขนาดใหญ่ด้านนอก เหมาะแก่การมาทานมื้อเย็นมากๆ
วันนี้เราขอไปทานในห้องแอร์ดีกว่าค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น